เนื้อหา

เทคนิคการวางสินค้าอย่างไรให้ขายออก

     เป้าหมายโดยรวมของการจัดชั้นวางสินค้านั้นก็เพื่อทำให้ลูกค้ามาเลือกซื้อในสิ่งที่เราอยากให้ซื้อและก็สามารถทำกำไรให้กับเรามากที่สุดนั่นเอง หลายต่อหลายห้างฯ ในปัจจุบันนี้มีการคิดค่านำเอาสินค้าของเจ้าของผลิตภัณฑ์เข้าไปขาย หรือเพียงแค่นำสินค้าไปวางที่ชั้นวางสินค้า ไม่ว่าจะมีการขายเกิดขึ้นหรือไม่ แต่ทางเจ้าของสินค้าก็จะต้องจ่ายค่านำสินค้าเข้ามาวางก่อนอยู่ดี ราคาก็อยู่ที่ประมาณ 50,000 บาท ต่อหนึ่งรายการ (หมายถึงต่อหนึ่งขนาดบรรจุภัณฑ์ )

     จุดที่เด่นที่สุดของชั้นวางสินค้าก็คือ ระดับสายตาของลูกค้า เช่น ถ้าเป็นระดับสายตาที่ต้องการขายให้เด็กเล็กสามารถเลือกสินค้าเองได้ ก็น่าจะอยู่ที่ชั้นต่ำกว่าสายตาผู้ใหญ่ลงมาอีก จัดแบ่งพื้นที่ให้สินค้าวางโชว์อยู่ในชั้นวางสินค้าให้เหมาะสมกับยอดขายที่คาดว่าจะได้รับโดยรวมด้วย สินค้าควรจะต้องมีให้เห็นเพื่อขายอยู่บนชั้นวางสินค้า เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการขาย

     กรณีที่สินค้าขาดหายไป จงอย่าเลื่อนเอาสินค้าตัวอื่นมาแทนที่เนื่องจากจะทำให้ลืมได้ว่าตรงบริเวณนั้น สินค้าอะไรขาดไป และจะต้องรีบนำมาเติมให้เต็มพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้โดยเร็วที่สุดก่อนจะเคลื่อนย้ายหรือสลับที่กันกับสินค้าตัวอื่น ๆ ควรจะต้องศึกษาหรือปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างฝ่ายจัดซื้อกับฝ่ายหน้าร้านก่อนจึงจะทำการย้ายจุดได้ ควรมีการปรับปรุงจุดที่วางสินค้าบนชั้นวางสินค้าใหม่ทุก ๆ 3 เดือน เพื่อคอยดูว่าผลการขายหรือกำไรต่อพื้นที่การขายของสินค้าแต่ละตัวนั้นเหมาะสมอยู่หรือไม่

     การเติมสินค้าบนชั้นวางสินค้า ให้นำสินค้าเก่าที่มีอยู่ยกยอดออกมาให้หมดก่อน แล้วจึงค่อยเติมสินค้าใหม่จากด้านหลังมา ทั้งนี้ จะช่วยในการบริหารสินค้าที่นำมาวางจำหน่าย ไม่ให้มีสินค้าเก่าเก็บเหลืออยู่ในชั้นวางสินค้านานเดินไป ควรติดป้ายชื่อ ขนาดบรรจุ และราคา สินค้าทุกชนิดไว้ที่ขอบของชั้นวางสินค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบและเช็คได้ตลอดเวลา

     ชั้นวางสินค้าไม่ควรมีฝุ่นละอองจับ ไม่ว่าจะเป็นที่ตัวชั้นวางของหรือที่ตัวสินค้า ไม่ควรมีของใช้ส่วนตัวของพนักงานซุปเปอร์มาร์เก็ตซ่อนอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งของชั้นวางสินค้า รวมทั้งไม่มีไม้ปัดขนไก่ ปากกา ผ้าขี้ริ้ว ถังซักผ้า จาน ชาม ช้อน ส้อม หรือแม้แต่ของกิน เอกสารต่าง ๆ ที่มี ราคาต้นทุนสินค้า ต้องไม่มีให้เห็นที่ชั้นวางสินค้า

     เมื่อสินค้าเข้ามาใหม่ ควรรับนำขึ้นวางที่ชั้นวางสินค้าทันที จัดสินค้าให้แยกตามประเภทของสินค้า และให้เป็นแนวดิ่งจากชั้นล่างขึ้นบน หรือจากบนลงล่าง สินค้ายี่ห้อที่เป็นที่นิยมให้จัดอยู่ในระดับสายตา ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถมองเห็นได้ก่อนและเลือกหยิบซื้อได้โดยเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาหานาน ส่วนสินค้าประเภทที่ไม่เห็น ไม่ซื้อ หรือลูกค้าไม่เคยมีความคิดจะซื้ออยู่ในเมนูการจับจ่ายซื่อของเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว จงอย่าพยายามจัดเอาสินค้าประเภทนี้ วางไว้กับสินค้าชนิดที่ขายดีหรือเป็นที่ต้องการของลูกค้า

     กรณีที่สินค้านั้นๆ มีหลายขนาด ให้จัดสินค้าเป็นแนวดิ่ง ให้ขนาดเล็กอยู่บนขนาดใหญ่อยู่ล่าง เวลาจัดวางสินค้า พนักงานขายจะได้ไม่ต้องเหนื่อยมาก ในการหยิบยกสินค้าขนาดใหญ่ๆ ไปไว้ข้างบน และลูกค้าเวลามาเลือกหยิบจากชั้นวางสินค้าก็จะได้ไม่ต้องกลัวว่า สินค้าจะตกลงมาใส่หัว ถ้าขนาดใดขายดี ให้เพิ่มพื้นที่ในชั้นวางสินค้าหรือขยายเพิ่มชั้นวาง 2 ชั้นขึ้นไป

     ถ้าสินค้าประเภทนั้นมีพียง 2 ยี่ห้อ และมีเพียงยี่ห้อละ 2 ขนาด ให้เอายี่ห้อที่ขายดีจัดวางชั้นบนและเอายี่ห้อรองวางชั้นล่าง ถ้าสินค้าประเภทนั้นมีเพียงยี่ห้อเดียว ให้ดูว่ามีสินค้าประเภทใกล้เคียงในหมวดหมู่เดียวกันหรือไม่ ถ้ามีให้นำมาขายรวมหมวดกันและจัดวางตามยี่ห้อเป็นแนวดิ่ง ถ้าสินค้ามีหลายขนาดมาก และแต่ละชั้นวางสินค้ามีเพียงไม่กี่ชั้น เราสามารถเพิ่มหรือเสริมชั้นวางสินค้าให้มีหลายชั้นได้

     ถ้าเป็นสินค้าประเภทกำจัดยุงไฟฟ้า ควรวางแผ่นไว้ข้างๆ กันกับเครื่องยี่ห้อเดียวกัน ส่วนที่เป็นน้ำยาฉีดกันยุงทั้งที่เป็นแบบสเปรย์และแบบกระป๋องควรวางไว้ในกลุ่มยี่ห้อเดียวกัน และเรียงตามขนาดตามแนวดิ่ง ส่วนน้ำยาแบบที่เป็นกระป๋องเติม ให้วางไว้ที่ชั้นล่างสุด สินค้าประเภทผ้าอนามัย ควรแบ่งกลุ่มตามแนวดิ่ง และแยกประเภทตามยี่ห้อ ยาสีฟัน ควรแบ่งการวางไว้ตามยี่ห้อ (ขนาดใหญ่หรือเล็กก็ควรให้อยู่ใกล้กันในหมวดยี่ห้อเดียวกัน)

     แนวคิดที่จัดวางสินค้าในแนวดิ่งนี้ เนื่องเพราะหากว่าเราจัดวางโชว์สินค้าเป็นแนวนอน เวลาลูกค้าเดินเลือกสินค้าแล้ว จะผ่านเลยไปและจะไม่มีโอกาสเดินย้อนกลับมาเลือกซื้อประเภทอื่นที่วางขายอยู่ที่ชั้นอื่นๆ อีก การเลือกดูตามขนาดของสินค้าก็เพียงแค่ก้มๆ เงยๆ นิดหน่อยก็สามารถเลือกได้สินค้าที่พอใจแล้ว

ดังนั้น โอกาสในการขายของก็เพิ่มขึ้น เนื่องจากทำให้ลูกค้าสามารถมองเห็นสินค้าได้ทั่วนั่นเอง

ความหมายธุรกิจเครือข่าย

ธุรกิจ เครือข่าย เป็นระบบธุรกิจการตลาดรูปแบบใหม่ที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถได้เป็นเจ้า ของธุรกิจที่สร้างรายได้จำนวนมาก โดยไม่ต้องมีความเสี่ยงและไม่ต้องลงทุนเงินเป็นจำนวนมากเหมือนกับการทำ ธุรกิจทั่วๆไป เพียงเริ่มต้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดี และเมื่อเกิดความประทับใจในตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ก็ทำการแนะนำบอกต่อให้คนที่รู้จัก ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นเหมือนกับตนเป็น การโฆษณาแบบปากต่อปาก เมื่อมีการซื้อผลิตภัณฑ์ใช้ตามคำบอกเล่าจากผู้แนะนำ ก็จะทำให้เกิดกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการโฆษณาและพ่อค้าคนกลาง เหมือนกับการตลาดแบบเดิม ที่การเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคจะต้องผ่านระบบพ่อค้าคนกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับกำไรถึง 60% จากการจัดส่งสินค้ามาสู่ผู้บริโภค เมื่อเกิดกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง ทำให้บริษัท เจ้าของผลิตภัณฑ์สามารถประหยัดงบประมาณที่เป็นค่าโฆษณาได้มาก ซึ่งบริษัทจะนำงบค่าโฆษณาที่ประหยัดได้ไปใช้ทำการวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้นอีก ส่วนผลกำไร 60% ของพ่อค้าคนกลาง ที่ถูกตัดออกมานั้น บริษัทจะนำเงินส่วนนี้มาจัดสรรให้กับผู้บริโภคที่ใช้ดีแล้วทำการบอกต่อกับ ผู้อื่นเป็นลำดับชั้นตามสัดส่วน ที่บริษัทกำหนดไว้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระบบการตลาดแบบเครือข่ายนี้ จะทำให้ผู้บริโภคสามารถมีส่วนแบ่งของรายได้มากถึง 60% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ จากระบบการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคแบบใหม่ นอกเหนือจากการที่จะต้องเป็นผู้จ่ายเงินซื้อสินค้า เพียงอย่างเดียวในระบบ ธุรกิจแบบเดิม โดยการตลาดแบบเครือข่ายผู้บริโภค ที่ใช้วิธีการแนะนำบอกต่อนี้จะมีลักษณะที่พิเศษ กว่าการตลาดแบบทั่วๆไป คือ ความสามารถในการขยายตัวของจำนวนผู้บริโภคที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นได้แบบไม่จำกัด จำนวน โดยอาศัยเพียงการแนะนำผลิตภัณฑ์จากคน 1 คนแนะนำให้กับคน 2 – 3 คนและแต่ละคนของ 2 – 3 คนบอกต่อกับคน 2 – 3 คนต่อๆไป ก็จะเกิดการขยายตัวของจำนวนผู้บริโภค ในลักษณะพหุคูณเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด

ธุรกิจกิจเครือข่าย นี้คืออะไร ทำไมคนจึงหลั่งไหลเข้าสู่ธุรกิจนี้อย่างมากมาย ? ปัจจุบันมีรูปแบบวิธีการดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ว่าแต่ว่าคุณจะปฏิเสธที่จะเรียนรู้มันด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยทราบมาก่อน หรือไม่ เมื่อพูดถึงการทำการค้า หลายคนนึกถึงว่าต้องใช้เงินทุนมาก, ต้องจ้างแรงงานจำนวนมาก, ต้องผลิตสินค้า, ต้องมีโรงงาน, ต้องมีทำเลหน้าร้าน ฯลฯ จึงจะทำให้พวกเราส่วนใหญ่ ไม่มีโอกาสได้เป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเองสักที เพราะขาดเงินทุน ขาดคนมีฝีมือที่ไว้วางใจได้ ณ.วันนี้ธุรกิจที่ทุกคนมีสิทธิ์ทำให้ฝันของตนเป็นจริงได้เกิดขึ้นแล้ว เราเรียกว่า “ธุรกิจเครือข่าย”


โอกาสการเปลี่ยนแปลงชีวิตสู่การมีอิสรภาพทางการเงินและเวลา หนังสือชุดพ่อรวยสอนลูก เล่มที่ 2 “Cashflow Quadrant” หรือ “เงินสี่ด้าน” ของ Robert T. Kiyosaki ได้กล่าวไว้ว่า คนในโลกแบ่งตามที่มาของรายได้ที่เขาได้รับออกเป็น 4 ด้านคือ


ด้านที่ 1 ) ลูกจ้าง ( Employee ) คือผู้ที่มีรายได้จากค่าจ้าง, เงินเดือน

ด้าน ที่ 2 ) ธุรกิจส่วนตัว ( Self – employed ) เจ้าของกิจการขนาดเล็ก ( Small Business owner ) คือผู้ที่มีรายได้จากการทำงานของตนเองหรือกิจการของตนเองโดยเจ้าของกิจการจะต้องเป็นผู้ลงมือทำหรือดูแลด้วยตนเอง

ด้านที่ 3 ) เจ้าของกิจการขนาดใหญ่ ( Business owner ) คือผู้ที่มีรายได้จากทรัพย์สินของตน, โดยใช้เวลาและแรงงานของผู้อื่นสร้างรายได้ให้กับตน

ด้านที่ 4 ) นักลงทุน ( Investor ) คือผู้ที่ใช้เงินทำงานแทนตนเอง เพื่อสร้างผลตอบแทนหรือรายได้ให้กับตนโดยไม่ต้องทำเอง

 

โอกาสที่ดีที่สุดอยู่ที่การตัดสินใจเลือกทางเดินของคุณ
     ในทุกๆเช้าของวันใหม่ที่เราตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าเรายังต้องดำเนินชีวิตในรูป แบบที่เหมือนๆกับทุกๆวันที่ผ่านมา คือต้องตื่นแต่เช้า ออกจากบ้าน ผจญกับปัญหาจราจร เพื่อไปให้ทันเข้างาน ตอกบัตรเข้าทำงาน แล้วก็ทำงานตามภาระรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย พบเจอกับความเครียดต่างๆในการทำงาน ตอนเย็นเลิกงาน ตอกบัตรออก ผจญกับปัญหาจราจรอีกครั้ง กลับถึงบ้าน แล้วก็หลับไปด้วยความอ่อนเพลีย และเตรียมพบกับวันใหม่ที่ดำเนินชีวิตในรูปแบบเดิมๆ เป็นวงจรซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกวัน เราเคยสังเกตบ้างหรือไม่เราทำสิ่งเหล่านี้เพื่ออะไร? เพื่อที่จะให้สามารถดำรงชีวิตผ่านไปได้วันๆหนึ่งเท่านั้นเองหรือ ? เราต้องการชีวิตที่เป็นแบบนี้จริงๆหรือ? ผมเชื่อมั่นว่าคนเราทุกคนมีความฝัน อยากจะมีชีวิตที่ดีกว่าที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้อย่างแน่นอน แล้วทำไมไม่ลองหาทางที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณไปสู่รูปแบบของการใช้ชีวิตแบบ ใหม่ในแบบที่คุณอยากเป็น มีสุภาษิตจีนบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “เดินทางร้อยลี้ต้องมีก้าวแรก” หากคุณต้องการเริ่มต้นสร้างความสำเร็จให้กับชีวิต ด้วยเส้นทางที่สามารถสร้างความฝันของคุณให้เป็นจริงได้ ภายในระยะเวลาที่ไม่ยาวนานเกินไป ธุรกิจเครือข่ายจะเป็นเส้นทางที่ดีที่สุดเส้นทางหนึ่ง ที่พร้อมจะเปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงเสมอ หลังจากนี้ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณ เมื่อคุณได้มีโอกาสอ่านเอกสารฉบับนี้แล้ว และต้องการจะใช้โอกาสที่ดีนี้เพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงินและเวลาให้กับตัว คุณเองและคนที่คุณรัก ผู้ที่แนะนำคุณให้อ่านเอกสารฉบับนี้พร้อมเสมอที่จะช่วยคุณสร้างความฝันให้ เป็นจริง เพียงคุณมีความเชื่อมั่นและเดินตามความเชื่อในหัวใจของคุณ ทุกสิ่งที่คุณปารถนาย่อมเป็นไปได้อย่างแน่นอน.

ข้อผิดพลาด 8 ประการในการเขียนแผนธุรกิจ

ข้อผิดพลาดหมายเลข 1 : ไม่มีบท หรือ ส่วนวิเคราะห์คู่แข่งในแผนธุรกิจ
     ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มักจะต้องการแสดงให้ผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงิน เห็นว่า ธุรกิจของตนเองนั้นมีความโดดเด่น และ ละเลยที่จะไม่นำคู่แข่งที่ประสบผลสำเร็จแสดงไว้ในแผนธุรกิจ การไม่มีคู่แข่งในสายตาของผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงิน หมายถึง ตลาดของสินค้าหรือบริการ นั้นๆ ไม่มีความน่าสนใจ หรือ มีขนาดเล็กมาก จนไม่มีใครสนใจที่จะกระโดดลงมาแข่งขันในตลาดนั้นๆ ดังนั้นในแผนธุรกิจจำเป็นจะต้องกำหนดตำแหน่งทางการตลาด (Market Position) ที่แสดงให้เห็นว่าใครคือคู่แข่ง

 

ข้อผิดพลาดหมายเลข 2 : เล็งผลระยะยาวมากเกินไป แต่ไม่สนใจผลการดำเนินการในอดีต
     ตามปกติแล้ว ผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงิน จะให้ความสำคัญกับการคาดการณ์การเติบโตในอนาคตของธุรกิจที่จะร่วมทุนลง ทุน หรือ สนับสนุนทางการเงิน อย่างไรก็ตามแต่ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่บ่งชี้ ความสำเร็จในอนาคตก็คือ ความสำเร็จในอดีตของ ธุรกิจนั้นๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสดงความสำเร็จในอดีตของธุรกิจ นั้นไว้ในแผนธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงินเกิดความมั่นใจในการคาดการณ์ถึงความสำเร็จในอนาคต

 

ข้อผิดพลาดหมายเลข 3 : ไม่ใส่ประวัติของผู้บริหาร และบุคลากรหลักๆ
     ในแผนธุรกิจ ในส่วนที่กล่าวถึงผู้บริหารและบุคลากรหลัก จำเป็นจะต้องมีประวัติที่บ่งบอกรายละเอียดของผู้บริหาร และบุคลากร รวมไปถึงการระบุอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้บริหาร และบุคลากร แผนธุรกิจที่ดีจะต้องสามารถตอบคำถามได้ว่า มีใคร บ้าง และแต่ละคนรับผิดชอบอะไร ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ค้ำประกันถึงความสำเร็จของแผนธุรกิจได้ในระดับ หนึ่ง และ ยังเป็นการสร้าง ความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงิน

 

ข้อผิดพลาดหมายเลข 4 : ขอให้ผู้ร่วมทุน ลงนามในสัญญาไม่เปิดเผยรายละเอียดในแผนธุรกิจ
     นักลงทุนส่วนใหญ่จะไม่ยอมเซ็นสัญญาดังกล่าว สาเหตุเนื่องมาจาก กลยุทธ์ และ/หรือ แนวคิด ต่างๆ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นความลับ แต่สิ่งอาจจะพิจารณาให้เป็นเรื่องความลับ เช่น หุ้นส่วนหลักๆ เป็นต้น แต่ในส่วนอื่นๆ เช่น ถ้าหากผู้ประกอบการยืนกรานว่า แนวคิด หรือ กลยุทธ์ ในแผนธุรกิจเป็นความลับ อาจจะทำให้ผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงิน ประเมินว่า แนวคิด หรือ กลยุทธ์ นี้ ไม่มีความ โดดเด่น และง่ายต่อการเข้ามาของคู่แข่งรายอื่นๆ

 

ข้อผิดพลาดหมายเลข 5 : เน้นเรื่องเป็นผู้เข้าสู่ตลาดเป็นรายแรกมากเกินไป
     แผนธุรกิจบางแผน เน้นเรื่องการได้เปรียบจากการเป็นผู้เข้าสู่ตลาดรายแรกมากเกินไป (First Mover) แต่ไม่เน้น กลยุทธ์ใน การเติบโตในระยะยาว เมื่อมีคู่แข่งรายใหม่เริ่มเข้าสู่ตลาด เมื่อดำเนินธุรกิจไปได้ในระยะหนึ่ง กลยุทธ์ที่จำเป็นจะต้องระบุลงไปใน แผนธุรกิจที่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงิน ได้แก่ การบริหารความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Customer Relation anagement), การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเป็นต้น

 

ข้อผิดพลาดหมายเลข 6: เน้นเรื่องความโดดเด่นในเรื่องเทคโนโลยีที่บริษัท หรือ ธุรกิจมีอยู่มากเกินไป
     ถ้าหากจะต้องลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการจะต้องระบุให้ได้ว่า เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถตอบสนอง ความต้องการกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างไร กล่าวคือ การลงทุนทุกๆ อย่างจะต้องตอบคำถามไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถามทางตรง หรือ ทางอ้อม ให้ได้ว่า ผู้ร่วมทุน จะได้อะไรจากการลงทุนในสิ่งนั้นๆ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ เนื่อง จากขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในเรื่องความต้องการ (Need) ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ดังนั้นการตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างแจ่มชัด
ผู้ประกอบการจะต้องเข้าใจความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างชัดเจน

 

ข้อผิดพลาดหมายเลข 7: เล็งผลเรื่องทางด้านการเงินมากเกินไป
     ผู้ร่วมทุนบางราย จะพิจารณาแผนการเงินเป็นอันดับแรก โดยจะเริ่มต้นพิจารณาจากสมมุติฐานของยอดขาย และต้นทุนก่อน ว่า มีความสมเหตุสมผลหรือไม่ ดังนั้นแผนการเงินในแผนธุรกิจฉบับหนึ่งๆ ถ้าหากตั้งสมมุติฐานทางด้านการเงินอย่างไม่สมเหตุสม ผลนั้น สามารถบ่งชี้ให้เห็นได้ถึงความอ่อนประสบการณ์ในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบริหาร เรื่องการตลาด และเรื่องอื่นๆ ใน ทางตรงกันข้ามถ้าหาก ผู้ประกอบการกำหนดสมมุติฐานทางด้านการเงินที่สมเหตุสมผล...ก็จะทำให้ผู้ร่วม ทุนเกิดความมั่นใจ

 

ข้อผิดพลาดหมายเลข 8 : ระบุขอบเขตของตลาดกว้างมากเกินไป
     การระบุขอบเขตของตลาดกว้างเกินไป มักจะทำให้ผู้ร่วมทุนไม่สนใจในตลาดนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย คือ ธุรกิจ SMEs ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว คำว่า "ธุรกิจ SME" นั้นมีขอบเขตที่กว้างมาก และยากที่จะระบุได้ว่า มีขนาดใหญ่แค่ไหน และ ยากที่จะวางแผนในการเข้าไปยึดครองตลาด ในทางตรงกันข้าง ถ้าหากระบุว่า "ธุรกิจ SMEs ที่เป็นธุรกิจบริการ มียอดขายไม่เกิน 10 ล้านบาท และมีทำเลทางธุรกิจอยู่ใน พื้นที่ กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล" การระบุที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้ร่วมทุน หรือ สถาบ้นการเงิน เห็นภาพที่ชัดเจน และคาดการณ์ ถึงความเป็นไปได้ได้ง่ายกว่า การระบุที่กว้างมากๆ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.thaisp.org

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs

     ผู้ที่ต้องการทำธุรกิจเป็นของตนเองจำเป็นจะต้องมีสัญชาตญาณของความเป็นผู้ประกอบการ และมีความขวนขวายในการหาช่องทองในการลงทุนทำธุรกิจอยู่เสมอ ดังนั้นผู้ที่จะเป็นผู้ประกอบการ จำเป็นจะต้องไม่สะทกสะท้านกับปัญหาอุปสรรคใดๆ ที่จะเกิดขึ้นมีแต่ความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะทำ ต้องทำให้ได้แม้จะเหน็ดเหนื่อยอย่างไรก็ต้องอดทน ทำงานหนักต่อไปและมีความผูกพันกับงานที่ทำเพื่อให้เกิดความสำเร็จ

     จากการวิจัยพบว่าคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องมีหลายประการประกอบกัน ผู้ที่จะเป็นผู้ประกอบการอาจจะไม่จำเป็นจะต้องมีให้ครบทุกข้อ ยกเว้นข้อที่จำเป็นบางข้อที่ควรจะมี ดังนั้นขอให้พิจารณาดูตนเองว่าขาดข้อใดบ้าง เห็นสมควรที่จะพัฒนาให้เกิดขึ้นกับตนเองก็จะเป็นประโยชน์ คุณลักษณะดังกล่าวมีดังต่อไปนี้

     1. ความกล้าเสี่ยง (Risk Taking) "ธุรกิจ" กับ "ความเสี่ยง" เป็นของคู่กันผู้ที่เป็นผู้ประกอบการ ชอบทำงานที่ท้าทายความรู้ ความสามารถของตนเอง และจะไม่มีความภูมิใจกับงานที่ง่าย หรืองานที่มีความเป็นไปได้ร้อยเปอร์เซ็นต์หรือเท่ากับไม่มีความเสี่ยงเลย และจะหลีกเลี่ยงงานที่มีความเสี่ยงสูงเกินไป แต่ชอบงานที่มีความเสี่ยงปานกลาง คือ มีโอกาสประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว ความเสี่ยงระดับนี้ได้มีการประเมินแล้ว ว่าไม่เกินความสามารถที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ โดยจำเป็นต้องหาทางเลือกไว้หลายทาง เช่น การลงทุนธุรกิจ จำเป็นจะใช้เวลาศึกษาวางแผนการตลาด เลือกกระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับวัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์ เงินลงทุน หลักการบริหารพร้อมทั้งคำนวณผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับภายใต้ภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและนโยบายของรัฐ โดยศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วค่อยตัดสินใจและพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหา โดยมีการประเมินความเป็นไปได้อย่างดีแล้ว

     2. ต้องการมุ่งความสำเร็จ (Need for Achievement) เมื่อมองเห็นโอกาสแห่งความเป็นไปได้ พร้อมทั้งพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ผู้ประกอบการจะมุ่งมั่นใช้พลังงานความคิดสติปัญญา ความสามารถทั้งหมด ทำงานหนักทุ่มเทให้กับงาน เพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามช่องทางที่วางไว้ โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบาก และยังคงต่อสู้ต่อไป พร้อมจะทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับงาน เกิดการเรียนรู้ถึงความผิดพลาดจากที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขไปสู่ความสำเร็จ พอใจภูมิใจที่งานออกมาดีเด่น จุดมุ่งหมายทางธุรกิจมิได้อยู่ที่ทำกำไร แต่จะทำเพื่อการขยายความเจริญเติบโตของกิจการ กำไรเป็นเพียงเครื่องสะท้อนว่าจะทำได้ และไม่เพียงสนใจที่ผลบรรลุเป้าหมาย แต่สนใจวิธีการของขบวนการที่ทำให้บรรลุเป้าหมายด้วย

     3. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity Thinking) เมื่อผู้ประกอบการต้องการประสบความสำเร็จ ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่พอใจที่จะทำในสิ่งซ้ำ ๆ เหมือนแบบดั้งเดิม แต่เป็นผู้ที่ชอบเอาประสบการณ์ที่ผ่านมานำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์หาวิธีการใหม่ที่ดีกว่าเดิมนำมาใช้กับการบริหารธุรกิจ เป็นผู้เข้าถึงปัญหาแล้วหาทางแก้ไข หาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานอยู่ตลอดเวลา กล้าที่จะผลิตสินค้าที่แตกต่างจากตลาดที่มีอยู่เดิม กล้าใช้วิธีการขายที่ไม่เหมือนใคร กล้าประดิษฐ์ค้นคว้าสิ่งแปลกใหม่เข้าสู่ตลาด และเกือบทุกครั้งของความแตกต่างนั้นทำให้ได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังกล้าคิดค้นประดิษฐ์เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ ๆ มาใช้ในการผลิต นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ พร้อมทั้งแสวงหาวัตถุดิบใหม่ ๆ มาทดแทน ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน นำระบบการจัดการสมัยใหม่ให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต ความคิดสร้างสรรค์นี้อาจคิดขึ้นมาเอง หรือเอาแนวคิดมาจากนักประดิษฐ์ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษามาก็ได้

     4. รู้จักผูกพันต่อเป้าหมาย(Addict to Goals) เมื่อการตั้งเป้าหมาย มีการวาดภาพจินตนาการไปถึงความสำเร็จ และจะต้องทำอย่างไรถ้าล้มเหลว หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และจะแก้ไขอย่างไร ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผู้ประกอบการจะต้องทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เป้าหมายนั้นล้วนแต่เป็นการเอาชนะทั้งนั้น มีความคิดผูกพันที่จะเอาชนะ จนสามารถวางแผนกลยุทธ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่อาจขัดขวางในการไปสู่เป้าหมาย เตรียมป้องกันที่จะเอาชนะปัญหาอุปสรรคที่คาดว่าจะทำให้เกิดการล้มเหลว แต่ขณะเดียวกันมองโลกในแง่ดี มีความหวัง มุ่งมั่นต่อเป้าหมายของความสำเร็จจนมองเห็นอนาคต

     5. ความสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อื่น(Ability to motivate) ผู้ประกอบการที่ดีนอกจากมีความสามารถในการทำงานแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการชักจูงโน้มน้าวจิตใจ ผู้อื่นให้ความร่วมมือช่วยเหลือในการทำงาน รู้จักใช้ความสามารถในการทำงานสร้างทัศนคติและแรงจูงใจต่อผู้ร่วมงานให้สามารถเข้าใจการทำงาน และเต็มใจปฏิบัติงานตามที่วางไว้ สามารถโน้มน้าวใจผู้ให้เงินทุน เช่น ธนาคาร ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ให้คล้อยตามและยินดีให้การสนับสนุนทางการเงินและการลงทุน

     6. ยืนหยัดต่อสู้ทำงานหนัก(Hard Working) เมื่อพิจารณารอบคอบแล้วตั้งเป้าหมาย จะต้องพยายามทำงานหนัก ทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรค ถูกกดดันอย่างใหญ่หลวงก็ไม่สามารถหยุดหยั้งได้ ขอเพียงให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จเท่านั้น

     7. เอาประสบการณ์ในอดีตมาเป็นบทเรียน(Learning from Experience) เป็นคุณลักษณะสำคัญที่ควรจะปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการ เป็นการมองผลงานในอดีตที่เคยทำผิดพลาด นำมาเป็นบทเรียนสะท้อนไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก หรือนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานหรือนำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำงาน ให้มุ่งไปสู่การทำงานที่ดีกว่าเดิม โดยมองเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ในการทำงาน บางครั้งแม้ว่าจะไม่สามารถทำได้สำเร็จ ก็จะหยุดคิดเพื่อหาวิธีใหม่ ๆ มาแก้ไขปัญหา ไม่มุทะลุยึดมั่นกับแผนเดิมแล้วทำไม่ได้ ผู้ประกอบการจะต้องยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานจนทำได้สำเร็จ และฟังความคิดเห็นของผู้รู้ผู้แนะนำ

     8. มีความสามารถในการบริหารงานและมีความเป็นผู้นำที่ดี (Management and Leadership Capability) มีลักษณะการเป็นผู้นำ รู้หลักการบริหารงานจัดการที่ดี เมื่อต้องทำงานร่วมกับบุคลากรหลายระดับในภาวะที่แตกต่างกันออกไปตามระยะการเติบโตของกิจการ ซึ่งลักษณะของความเป็นผู้นำก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วย โดยเฉพาะระยะเริ่มทำธุรกิจ จะต้องรับบทเป็นผู้นำ ที่ลงมือทำทุกอย่างด้วยตนเอง ทำงานหนัก เพื่อให้บรรลุความสำเร็จเอาใจใส่ผู้ร่วมงาน วางแนวทางการทำงาน พร้อมให้คำแนะนำ ผู้ร่วมงานรับคำสั่งด้วยความเต็มใจปฏิบัติ เป็นผู้กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด และเป็นกันเอง ผลงานดำเนินไปด้วยดี ต่อมากิจการเติบโตขึ้น การบริหารงานก็เปลี่ยนแปลงไป ลูกน้องมีการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นได้มากขึ้น ไว้ใจและแบ่งความรับผิดชอบให้ลูกน้องมากขึ้น จนถึงปล่อยให้ดำเนินการเอง ส่วนตนเองจะได้มีเวลาใช้ความคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายกิจการหรือลงทุนใหม่ มีการวางแผนสั่งการ ตัดสินใจทำงานตามที่วางไว้ กล้าลงทุนจ้างผู้บริหารมืออาชีพมาช่วยงานมากกว่าเป็นธุรกิจเครือญาติ รู้จักปรับ เปลี่ยนแปลงการบริหารสามารถทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้

     9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง(Be Self Confident) ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จ มักจะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง มีความเป็นอิสระและพึ่งตนเองได้ มีความมั่นใจ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว เข้มแข็งมีลักษณะเป็นผู้นำ และมีความเชื่อมั่นที่จะพิชิตเอาชนะสิ่งแวดล้อมที่น่าสะพรึงกลัวได้ มีความทะเยอทะยาน และไม่ประเมินความสามารถของตนเองสูงเกินไป หรือเชื่อมั่นตัวเองมากเกินไป จึงไม่แปลกที่ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ เคยมีประวัติความล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะช่วงแรกของชีวิตการทำงาน แต่จะไม่เลิกล้ม จนสามารถต่อสู้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ได้สำเร็จ เชื่อมั่นว่า ไม่ว่าสถานการณ์อย่างไรจะต้องพึ่งตนเองได้ ปัจจัยอื่นเป็นปัจจัยเสริมเท่านั้น การทำงานหนัก ความทะเยอทะยานและการแข่งขันจะเป็นสิ่งสนับสนุนตนเองได้ดีที่สุด

10. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล(Visionary) เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ สามารถที่จะวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคตข้างหน้าได้อย่างแม่นยำและพร้อมรับเหตุการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลง

11. มีความรับผิดชอบ(Responsibility) รับผิดชอบต่องานที่ทำเป็นอย่างดี เป็นผู้นำในการทำสิ่งต่าง ๆ มักจะมีความคิดริเริ่มแล้วลงมือทำเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำ และเป็นผู้ดูแลจนงานสำเร็จไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยจะรับผิดชอบผลการตัดสินใจ ไม่ว่าจะผลออกมาจะดีหรือไม่ มีความเชื่อว่าความสำเร็จเกิดจากความเอาใจใส่ ความพยายาม ความรับผิดชอบมิใช่เกิดจากโชคหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้เกิดขึ้น

     12. มีความกระตือรือร้น และไม่หยุดนิ่ง(Enthusiastic) มีการทำงานที่เต็มไปด้วยพลัง มีชีวิตชีวาที่ยากจะทัดทาน มีความกระตือรือร้น ทำงานทุกอย่างโดยไม่หลีกเลี่ยง ทำงานหนักมากกว่าคนปกติทั่วไป เร่งรัดตัวเองทุกวัน มีพลังผูกพันตัวเองไม่อยู่นิ่งด้วย

     13. ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม(Take New Knowledge) ถึงแม้จะเชี่ยวชาญชำนาญในการ แต่ความรู้และประสบการณ์อย่างอื่น หรือที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ ก็ต้องหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ โดยเฉพาะความรู้ข้อมูลทางการตลาด เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ทั้งในและต่างประเทศ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เขาวิเคราะห์สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความรู้ไม่มีวันเรียนจบ ความรู้อาจจะได้จากการสัมมนาฝึกอบรม อ่านหนังสือทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้ข้อคิดเห็นแก้ไขปัญหา สิ่งเหล่านี้จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้งานสำเร็จเร็วขึ้น

     14. กล้าตัดสินใจและมีความมุมานะพยายาม(Can Make Decision and Be Attempt) กล้าตัดสินใจมีความหนักแน่นไม่หวาดหวั่น เชื่อมั่นในตนเองกับงานที่ทำ มีจิตใจของนักต่อสู้ แม้งานจะหนักก็ทุ่มเทให้สุดความสามารถ ไม่กลัวงานหนัก ถือว่างานหนักนั้นเป็นงานท้าทายใช้ความรู้ สติปัญญา ความสามารถของตนเองในการทำงาน และจะภูมิใจเมื่อทำได้สำเร็จ ความมุมานะพยายามนั้น เป็นการทุ่มเทชีวิตจิตใจ มีการแข่งขันกับตัวเองและแข่งขันกับเวลาขวนขวายหาทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคจนสามารถบรรลุผลสำเร็จ

     15. อย่าตั้งความหวังไว้กับผู้อื่น(Independent) ผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ มักใช้น้ำพักน้ำแรงที่มาจากตนเอง จึงมีการผลักดันให้ผู้ที่อยู่รอบด้านทำงานหนักอย่างเต็มที่เช่นเดียวกับตนเพื่อให้งานสำเร็จ และมุ่งหวังความสำเร็จ

     16. มองเหตุการณ์ปัจจุบันเป็นหลัก(Focus on Current Situation) ผู้ประกอบการบางคนมักจะฝังใจในอดีต ซึ่งบางคนประสบความสำเร็จ บางคนล้มเหลวแล้วไม่สามารถปรับตัวเองได้ บางคนปรับตัวได้โดยพยายามเข้าใจในอดีต บางคนมีแต่โลกแห่งความฝัน สร้างวิมานในอากาศ แล้วไม่ลงมือทำ จึงไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องทำงานปัจจุบันให้ดีที่สุด คิดถึงอนาคตด้วยการวางแผนไว้อย่างรอบคอบ

     17. สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม(Adaptable) ต้องเชื่อมั่นในความสามารถของตนที่จะปรับตนเองให้เป็นไปตามต้องการของสภาพแวดล้อมมากกว่าปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามยถากรรม หรือขึ้นอยู่กับโชค หรือดวง

     18. รู้จักประมาณตนเอง(Self Assessment) การทำอะไรรู้จักประมาณตนเอง ไม่ทำสิ่งใดเกินตัว เกินความสามารถ จะได้ไม่ประสบกับความล้มเหลวในการลงทุนทำธุรกิจ ในระยะแรกการคาดการณ์ตลาดยังไม่ชัดเจน แต่ทำธุรกิจแบบใจใหญ่ แทนที่จะเริ่มเล็ก ๆ ไปก่อน แต่กลับไปลงทุนใหญ่ที่เดียว ผลลัพธ์ไม่สามารถหาตลาดได้ สินค้าที่ผลิตได้ก็ไม่สามารถจะระบายออกไปได้ ผลสุดท้ายมีสินค้าค้างสต็อก เงินทั้งหมดก็มาจมอยู่กับสินค้า ไม่สามารถหาเงินลงทุนต่อไปได้ นี่เป็นสาเหตุของความเกินตัว ทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้

     19. ต้องมีความร่วมมือและแข่งขัน(Participation and Competition) การทำธุรกิจย่อมมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เพื่อกำไร แม้ว่าจุดม่งหมายเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องแข่งให้ล้มไปข้างหนึ่ง ยังมีวิธีการที่จะมุ่งสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกันจะต้องไม่พยายามทำธุรกิจให้เกิดผู้แพ้ผู้ชนะ แต่ต้องดำเนินให้เกิดเพียงผู้ชนะอย่างเดียว ร่วมมือกันพึ่งพาอาศัยกันเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดโดยร่วมกันตั้งเป็นสมาคม ชมรม เพื่อช่วยเหลือกัน การทำธุรกิจต้องมีการแข่งขัน ควรแข่งขันในเรื่องพัฒนาผลิตภัณฑ์ คุณภาพ บริการ ด้านลดต้นทุนการผลิต ถ้าไม่มีการแข่งขัน ก็จะไม่มีการพัฒนาเกิดขึ้น

     20. ประหยัดเพื่ออนาคต(Safe for Future) การดำเนินธุรกิจต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าจะบรรลุเป้าหมาย การดำเนินงานระยะสั้นยังไม่เห็นผล ผู้ประกอบการต้องมีการประหยัด อดออมไว้เพื่อนำไปขยายกิจการในอนาคต ต้องรู้จักห้ามใจที่จะหาความสุขความสบายในช่วงที่ธุรกิจอยู่ในช่วงตั้งตัว เพื่ออนาคตข้างหน้า

     21. มีความซื่อสัตย์(Loyalty) ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าในด้านคุณภาพสินค้าและต้องสร้างความเชื่อถือของตัวเองในการเป็นลูกหนี้ที่ดีของธนาคาร เป็นนายที่ดีของลูกน้อง มีความซื่อสัตย์ต่อหุ้นส่วน ต่อครอบครัว และต่อตนเอง

 

ข้อมูลอ้างอิง : http://www.softcube.co.th/

pcru-crop 00fcd 6e9aa1743240 10152189502498850 393431712 n logoubi_40e99.jpg logoRD55 96630 photo 80aef file 1382642519 ef7fc logo smce cc785

รายชื่อผู้ประกอบการ

Menu

go to top